วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ฟ้าทะลายโจร

ฟ้าทะลายโจร สมุนไพรไทย รักษาไข้หวัด 2009
          ฟ้าทะลายโจร เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับเป็นสมุนไพรไทยมานาน ปัจจุบันมีการนำฟ้าทะลายโจรมาทำเป็นยาลูกกลอน หรือ ใส่แคปซูลเพื่อความสะดวกในการกิน มีผู้ทำการศึกษาค้นคว้าวิจัยถึงสรรพคุณยา และได้พบสารเคมีในส่วนต่าง ๆ ของพืชอยู่หลายชนิด รวมทั้งสาร Andrographolide ที่เป็นตัวยาสำคัญที่มีอยู่ในทุกส่วนคือ ราก ต้น ใบ และได้ทำการศึกษาทดลองเพื่อจำแนกโรคที่รักษาได้ดีให้ชัดเจน ซึ่งพบว่าฟ้าทะลายโจรรักษาโรคได้หลายโรค อาทิ แก้ติดเชื้อทำให้ปวดท้อง ท้องเสีย บิด และแก้กระเพาะอักเสบ ลำไส้อักเสบ แก้อาการไอ เจ็บคอ หรือคออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบ แก้ไข้ทั่วไป เป็นยาขมเจริญอาหาร เป็นต้น
ฟ้าทะลายโจร ได้รับการรับรองจากองค์ การอนามัยโลก (WHO) ว่าเป็นสมุนไพรที่ช่วย บรรเทาอาการหวัด(หวัด2009) และเสริมภูมิต้านทานดีกว่าการใช้ ยาปฏิชีวนะในคนที่เป็นหวัดบ่อย ๆ ร้อนในบ่อย ๆ เนื่องจากร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ ภูมิต้านทาน อ่อนลง การรับประทานสมุนไพรฟ้าทะลายโจรจะช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ทำให้ไม่เป็นหวัดง่าย ร้อน ในจะหายไป และสมุนไพรฟ้าทะลายโจรดีกว่ายาปฏิชีวนะ ตรงที่ไม่เกิดการง่วงนอน ไม่เกิดการดื้อยา และยังป้องกันตับจากสารพิษหลายชนิด เช่น จากยา แก้ไข้พาราเซตามอล หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เป็นส่วนผสม
การรักษาโรคหวัด (ไข้หวัด2009)
1. รักษาอาการไข้เจ็บคอ (Pharyngotonsillitis)
ผู้ป่วยที่ได้รับยาฟ้าทะลายโจรขนาด 6 กรัม/วัน หรือพาราเซทตามอล 3 กรัม / วัน หายจากไข้ และอาการเจ็บคอได้มากกว่ากลุ่มที่ได้ฟ้าทะลายโจรขนาด 3 กรัม / วัน อย่างมีนัยสำคัญในวันที่ 3 หลังรักษา แต่ผลการรักษาไม่มีความแตกต่างกันในวันที่ 7
2. การศึกษาประสิทธิผลในการบรรเทาอาการหวัด (Common cold) ผลการทดลองให้ยาเม็ดสารสกัดฟ้าทะลายโจรที่ควบคุมให้มีปริมาณของแอนโดกราโฟไลด์ และดีออกซีแอนโดรกราไฟไลด์รวมกันไม่น้อยกว่า 5 มิลลิกรัม /เม็ด ครั้งละ 4 เม็ด วันละ 3 เวลา ในผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัด พบว่า วันที่ 2 หลังได้รับยา ความรุนแรงของอาการอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เจ็บคอ น้ำมูกไหล ในกลุ่มที่ได้รับยาฟ้าทะลายโจรน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญและในวันที่ 4 หลังได้รับยา ความรุนแรงของทุกอาการได้แก่ อาการไอ เสมหะ น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดหู นอนไม่หลับ เจ็บคอ ในกลุ่มที่ได้รับยาฟ้าทะลายโจร น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ
อ้างอิง http://health.kapook.com/view1018.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น