วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประโยชน์ของผัก

ประโยชน์ของผัก 
อาหาร เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต เคยท่องกันไว้ตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็ก เดี๋ยวนี้ก็ยังคงท่องกันปาวๆ อยู่อย่างนั้น เพราะมันคือ สัจจธรรมของการมีชีวิตอยู่จริงๆ คงไม่มีใครบังอาจปฏิเสธข้อเท็จจริงกรณีนี้ และเมื่อรู้ว่า อาหารเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ เพื่อความจำเป็นของร่างกาย โดยเฉพาะผัก
เมื่อเด็กเล็กนักอีกเช่นกัน เราถูกสอนกันมาว่า ผักสีเขียว สร้างคุณประโยชน์ แก่ร่างกายอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวิตามัน เกลือแร่ หรืออะไรก็ตาม ที่ได้จากผักแล้ว กากของมันยังช่วยในเรื่อง ของระบบขับถ่ายได้เป็นปกติ สะดวกสบายอีกด้วย เด็กไม่กินผัก เป็นเรื่องธรรมดา เพราะ ผู้ใหญ่ ไม่สอน ไม่บอกเขา เพราะเขายังเล็กนักที่จะเข้าใจว่า อะไรเป็นอะไร แต่ผู้ใหญ่ที่ไม่กินผักสิ เป็นเรื่องไม่ธรรมดา หรือเป็นปกติสุขซะแล้ว เพราะคุณๆ น่าจะรู้ว่า คุณค่าที่ได้จากผักมีอะไรบ้าง โดยเฉพาะผักพื้นบ้าน ที่หลายคนอาจไม่เคยได้ยินชื่อ แต่หลายคนที่เคยได้ยินชื่อแล้ว แต่ก็ไม่คาดคิดว่า จะมีประโยชน์มากถึงขนาดนี้ เพราะคิดว่า เป็นผักพื้นๆ ธรรมดาๆ นี้เอง และถ้าหากคุณรู้แล้ว ก็ยังไม่สายเกินไป ที่จะหักใจ หันกลับมาบริโภคมันเข้าไป
ณ วันนี้ มีการให้ความสนใจ เกี่ยวกับผักพื้นบ้านกันมากขึ้น ในภูมิภาคของประเทศไทย ประชากรได้พึ่งพิงประโยชน์ จากผักที่มีอยู่ตามธรรมชาติ มีการนำมาใช้ประโยชน์ ทั้งเป็นอาหาร และเป็นยา ในสายตาของประชากร ความสัมพันธ์ระหว่างคน กับธรรมชาติ ถูกจัดวางไว้อย่างเข้ากัน แบบเหมาะสม อาทิ ชาวเหนือมีความเคารพต่อเจ้าป่าขุนเขา และป่าต้นน้ำ คนอีสานในอดีต มีความเคารพป่า จึงช่วยกันดูแล คุ้มครองป่า (ปัจจุบัน คนมีค่านิยมที่ตรงกันข้าม ป่าจึงกลายเป็นป่าหัวโล้นเป็นแถว ในแถบอีสานนั่นแหล่ะ) ทำให้แหล่งอาหารธรรมชาติ ดำรงอยู่ ชาวบ้านได้พึ่งพาอาศัย และการตั้งหมู่บ้านในภาคอีสาน ซึ่งมีจุดเด่นประการหนึ่ง คือ มักจะตั้งอยู่ใกล้โคก (เนินดิน) ที่อุดมไปด้วยป่าไม้ ทั้งที่จะเป็นแหล่งยา และแหล่งอาหาร เมื่อเป็นเช่นนี้ หากจะกล่าวว่า พืชผักพื้นบ้าน โดยตัวของมันเอง มีคุณค่าในการสร้างภูมิคุ้มกัน สำหรับชาวบ้าน ที่สอดคล้องกับสภาพธรรมชาติ ก็คงไม่ผิดเพี้ยนไป จากความเป็นจริงนัก
นอกจากนี้ ลักษณะบริโภค และรสชาติอาหาร ซึ่งจะมีรสชาติเฉพาะในแต่ละท้องถิ่น สิ่งนี้มิใช่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ ทว่า เป็นพฤติกรรมของการกลั่นกรองขึ้น จากความสัมพันธ์ระหว่างคน กับธรรมชาติ โดยการเลือกสรรอาหารที่มีประโยชน์ ให้สอดคล้องกับวิถีการดำรงชีวิต และตัดสิ่งที่เกิดโทษออกไปจากชีวิต
ดังนั้น อาหารที่เกื้อกูลต่อสุขภาพเช่นนี้ จึงเรียกได้ว่า เป็น อาหารสมุนไพร
คนเอเซียให้ความสำคัญ กับรสชาติของอาหารเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะ รสชาติของอาหารจะสะท้อนถึง คุณลักษณะเฉพาะของอาหาร ที่มีต่อร่างกาย ดังนั้น อาหาร (รวมทั้งผักพื้นบ้าน) สามารถจำแนกเป็น 9 รสชาติ ดังนี้
- รสฝาด ฝาดสมาน ปิดธาตุ หากรับประทานมากไป ทำให้มีอาการฝืดคอ ท้องอืด ท้องผูก
- รสหวาน ซึมซาบไปตามเนื้อ ทำให้ชุ่มชื่น บำรุงกำลัง หากรับประทานมากไป ทำให้ลมกำเริบ ง่วงนอน เกียจคร้าน
- รสขม แก้โลหิตเป็นพิษ ดีพิการ เพ้อคลั่ง หากรับประทานมากเกินไป ทำให้กำลังตก อ่อนเพลีย
- รสเมาเบื่อ แก้พิษ ฆ่าพยาธิผิวหนัง
- รสเผ็ดร้อน แก้โรคกองลม ลมจุกเสียด ปวดท้อง ลมแน่น ลมป่อง หากรับประทานมากเกินไป ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย และเผ็ดร้อน
- รสมัน แก้เส้นเอ็นพิการ ปวดเสียว ขัดยอก กระตุก
- รสหอมเย็น แก้ลม หน้ามืดตาลาย ลมวิงเวียน บำรุงหัวใจ
- รสเค็ม สรรพคุณซึมซาบไปตามผิวหนัง ประดง ชา คัน เจริญอาหาร หากรับประทานมากเกินไป ทำให้ท้องอืด แสดงแผลร้อนใน
กล่าวกันว่า ผักพื้นบ้านจะมีลักษณะ รสชาติ กลิ่น ที่มีความเฉพาะเจาะจง ผักแต่ละชนิด จึงมีรสชาติหนึ่งเด่น พร้อมทั้งมีรสชาติอื่นแทรก มักจะไม่มีรสเดียว ดังนี้ การจำแนกจึงสามารถบอกได้ในแง่รสชาติหลัก ของผักพื้นบ้าน
ผักพื้นบ้าน หรือผักพื้นๆ เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่ายิ่ง สำหรับคนไทย ทั้งนี้เพราะ เอกลักษณะของผักพื้นบ้าน คือ ความเป็นไม้พื้นเมือง แถมเป็นสายพันธุ์ทางพันธุกรรม ที่มีความแข็งแรง เหมาะกับภูมิอาการ และภูมิประเทศของเมืองไทย คนไทยรุ่นใหม่ จึงสมควรที่จะเรียนรู้ และเก็บรับประสบการณ์ จากคนโบราณ ซึ่งจะว่าไปแล้ว คนโบราณ หรือคนเฒ่าคนแก่ ได้เรียนรู้โลก และถ่ายทอดบทเรียนทางธรรมชาติให้เรามากมาย คนรุ่นใหม่ยุคโลกภิวัฒน์ จึงควรช่วยกันส่งเสริม การใช้ประโยชน์จากผักพื้นบ้านไทย อีกทั้งยังเป็นการช่วยส่งผลดี ต่อวัฒนธรรม นิเวศวิทยา และสุขภาวะของชาวไทยอีกด้วย
แหล่งอ้างอิง:
http://www.nonburee.com/page3.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น